กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือ บ้านจงเชียงราย จ.เชียงราย

รับออกแบบ ผลิตตุ๊กตาไหมพรม งานทำมือ หลายรูปแบบ หลากสไตล์ ฝีมือปราณีต สวยงามไม่เหมือนใึคร และสินค้าของเรามีลิขสิทธิ์ทุกชิ้นงาน

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตุ๊กตาไหมพรมชนเผ่าเมี่ยน เอกลักษณ์หนึ่งในเชียงราย


ตุ๊กตาชนเผ่าเมี่ยน เลขที่ลิขสิทธิ์ เลขที่ 236861
Size m ขนาด 3"x1.5"
ราคาขายปลีกชิ้นละ 59 บาท
ราคาขายส่งชิ้นละ 35 บาท
Size s ขนาด 1.5"x1"
ราคาขายปลีกชิ้นละ 49 บาท
ราคาขายส่งชิ้นละ 30 บาท

dolls_keyphone ที่ห้อยมือถือตุ๊กตาไหมพรม สวยแบบเก๋ ๆ เหมาะกับคนทุกวัย




ขนาด 1" x 1.5"
ราคาขายปลีก 39 บาท
ราคาขายส่ง 25 บาท
(ไม่รวมค่าขนส่ง)

dolls bagphone ซองใส่มือถือสวยสไตล์ไม่ซ้ำใคร



ขนาด เส้นผ่าศูนย์ 4.5"
ราคาขายปลีกชิ้นละ 49 บาท
ราคาขายส่งชิ้นละ 35 บาท
(ไม่รวมค่าขนส่ง)

กระเป๋าสตังค์ตุ๊กตาไหมพรม น่ารัก ๆ เหมาะกับคนที่รักตุ๊กตา




กระเป๋าสตังค์ทั้งแบบมีสาย หรือไม่มีสาย
เลือกได้ตามใจชอบ มีหลายแบบให้เลือก
ขนาด เส้นผ่าศูนย์ 4"
ราคาขายปลีกชิ้นละ 59 บาท
ราคาขายส่งชิ้นละ 40 บาท
(ไม่รวมค่าขนส่ง)


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

พวงกุญแจตุ๊กตาไหมพรม _ dollskey









ขนาดสินค้า 3"x2" นิ้ว
ราคาขายปลีก ชิ้นละ 49 บาท
ราคาขายส่ง ชิ้นละ 30 บาท
(ไม่รวมค่าขนส่ง)

รู้จักกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือฯ

         ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่  16  มกราคม  2548   โดยมีสมาชิก  จำนวน  7  คน ได้รับงานมาทำที่บ้าน  ซึ่งประกอบด้วย  งานเย็บตุ๊กตาระบายสี  งานพันตุ๊กตาเชือกกระสอบ  และนางวิไล     นาไพวรรณ์ ไดด้จุดประกายความคิดให้กับสมาชิกว่า  ทางกลุ่มน่าจะมีสินค้าเป็นของตัวเอง  ซึ่งไม่ใช่รับงานมาทำอย่างเดียว  ดังนั้นกลุ่มจึงค้นหางานที่สมาชิกมีความถนัดคือ งานเย็บและงานถัก  นางวิไลจึงได้ลองถักตุ๊กตาหมีจากด้ายวีนัส   ซึ่งเส้นด้ายมีขนาดเล็กมากจึงทำให้งานมีความประณีตและสวยงาม  แต่ใช้เวลาในการถักมากเกินไป  จึงเปลี่ยนมาเป็นไหมพรมแทน  และได้นำสินค้าฝากขายที่ร้านดิบดี  (ตลาดไนบาซ่าร์ จังหวัดเชียงราย)  ตั้งแต่ปี 2548 ช่วง 2  เดือน  ได้รับผลตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี  ดังนั้นทางกลุ่มจึงประกาศเป็นรับสมัครสมาชิกเพิ่ม และมีผู้สนใจจำนวนมาก และจัดฝึกอบรมถักตุ๊กตาไหมพรมขึ้น  โดยมีนางวิไล  คำเงิน  เป็นผู้ออกแบบและสอนกันเองภายในกลุ่ม และได้ยกระดับจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญขึ้นโดยมีสมาชิกเริ่มต้น  จำนวน  12  คน   และเมื่อวันที่  29  กันยายน  2548  กับสำนักงานเกษตรอำเภอเวียงชัย  จังหวัดเชียงราย  โดยมีสมาชิกจำนวน   57 คน ในปัจจุบัน     มีเงินทุนจากการถือหุ้นของสมาชิก และได้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ  ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  และได้รับการสนับสนุนทั้งความรู้  ข้อมูลวิชาการ  งบประมาณต่าง ๆ  จนถึงปัจจุบัน